วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา(ระบุแหล่งอ้างอิง)

ผู้ส่งนายสุนทร พูนเกษม รหัส 52410137 เลขที่ 38
ป.บัณฑิต บริหารการศึกษา

บทสัมภาษณ์ เรื่อง “นวัตกรรมทางการศึกษา”



เขียนโดย ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
บทสัมภาษณ์ เรื่อง “นวัตกรรมทางการศึกษา”
บทสัมภาษณ์ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื่องในโอกาสวันสถาปนาวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา ครบรอบ 7 ปี วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547
ผู้สัมภาษณ์: นิยามคำว่า “นวัตกรรม” ในมุมมองของท่านคือ
ดร. ประพนธ์: ถ้าเป็นตัวคำว่านวัตกรรมจริงๆ ก็คงมองถึงสิ่งใหม่ ที่แปลกไปจากเดิม ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคน พอพูดถึงคำว่านวัตกรรม ชอบไปนึกถึงเรื่องที่มันอิงเทคโนโลยี หรือว่าไฮเทค ใช่ไหมครับ ซึ่งเราพยายามทำความเข้าใจกับนักศึกษาเสมอเลยว่า นวัตกรรม ขอให้คิดว่าเป็นอะไรที่ฉีกแนวจากสิ่งเดิมๆที่เราทำกันอยู่ ไม่ใช่เพียงแค่เทคโนโลยี ถ้านวัตกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กร ก็กระทบต่อคนในองค์กร ถ้านวัตกรรมในการศึกษา ก็กระทบต่อผู้เรียนผู้สอน และสิ่งใหม่ที่ว่านี้ อาจจะไม่ได้ใหม่ในโลก คือที่อื่นเขามีแล้ว แต่เราไม่มี แล้วเรานำมาทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นที่นี่ ก็เป็นคำว่านวัตกรรมเหมือนกัน มันไม่ใช่ประดิษฐกรรมใหม่ (New Invention) หรือสิ่งที่เกิดบนโลกนี้ครั้งแรก แต่นวัตกรรม (Innovation) คือ เรามาเปลี่ยนแปลงให้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น ณ ที่นี่

ผู้สัมภาษณ์: “นวัตกรรมการศึกษา” คืออะไร
ดร. ประพนธ์: ก็เป็นความหมายที่ต่อจากเมื่อกี้ คือเป็นเรื่องใหม่ๆ ในแวดวงการศึกษา ซึ่งถ้าถามในฐานะที่ผมเคยเป็น ผอ. วิทยาลัยนวัตกรรมมา ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคณะหรือสถาบันแห่งนี้จะต้องทำเรื่องที่มันใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่เขาทำกันอยู่แล้ว หรือทำแบบเดิมๆ จะเห็นได้ว่าอย่างองค์กรเราเองก็เป็นการจัดการรูปแบบใหม่ ใหม่ทั้งในเชิงเนื้อหา ซึ่งจะไม่เหมือนคณะอื่นๆที่เป็นเฉพาะด้าน ของเราจะค่อนข้างเน้นสหวิทยาการ นอกจากนั้น กระบวนการเรียนการสอน ก็ควรต้องใหม่ด้วย ทั้งสองหลักสูตรของเราที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นบริหารงานวัฒนธรรม หรือบริหารเทคโนโลยี ก็พยายามสอดแทรกวิธีการเรียนแบบใหม่ๆ มีการซอยวิชาย่อยเป็น Module มีการเชิญ Guest ที่หลากหลาย อะไรทำนองนี้ แต่ต้องพยายามสร้างให้เกิดบูรณาการด้วย ซึ่งผมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางด้านการศึกษา
การรับนักศึกษา ก็ค่อนข้างดูด้วยว่าเป็นนักศึกษาที่หลากหลาย ไม่ใช่รับคนที่คล้ายๆกันหมด บริหารเทคโนโลยี ก็ไม่ใช่รับที่เป็นวิศวกรหมด ก็ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง คือเราไม่ได้เลือกเอาคนเก่งอย่างเดียว เราซอยย่อยว่าพื้นฐานที่มาจากวิศวะ มาจากสายสังคม นิติ เศรษฐศาสตร์ อะไรแบบนี้ แล้วเราก็จะมาระบุโควต้าเพื่อออกแบบให้กลุ่มตรงนี้มันหลากหลาย เพราะผมเชื่อว่าความหลากหลายจะเป็นพลังในการเรียนรู้ เพราะว่าถ้าคนเหมือนๆกันมาเรียน มันก็จะเรียนในกรอบความคิด หรือกระบวนทัศน์ที่คล้ายๆกัน ดังนั้นพอเราได้ความหลากหลาย ก็ทำให้คนบางคนทะลุกรอบความคิด หรือกระบวนทัศน์ตรงนี้ได้
ส่วนความคาดหวังสูงสุดของเราจริงๆ เราอยากจะให้สองหลักสูตรที่มี คือบริหารงานวัฒนธรรม และบริหารเทคโนโลยี ได้มีปฎิสัมพันธ์กันมากขึ้น คือหมายถึงบางวิชาอาจจะต้องเรียนร่วมกัน หรือมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้นักศึกษาแต่ละฝั่งได้เรียนรู้วิธีคิดของอีกฝั่งหนึ่ง การบูรณาการต้องไม่ใช่เฉพาะหลักสูตร แต่เป็นระหว่างหลักสูตรด้วย ซึ่งผมคงต้องฝาก ผอ. วิทยาลัยคนใหม่ ว่าถ้าอยากเห็นการนวัตกรรมทางการศึกษา ที่พาไปสู่เฟสสองนี้ให้ได้

ผู้สัมภาษณ์: ท่านคิดว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” ในปัจจุบัน ควรดำเนินไปในทิศทางใด
ดร. ประพนธ์: คือตอนนี้ อย่างคำว่า “บูรณาการ” ต้องยอมรับว่ามันเป็นคำฮิต ซึ่งพูดกันเยอะ แต่การทำให้เกิดบูรณาการจริงๆ มันก็คงไม่ง่ายนัก ในพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ไว้ การเรียนการสอนในโรงเรียนหลายวิชา ก็มีการบูรณาการ ไม่ได้ยึดวิชาเป็นหลัก แต่ยึดหัวข้อเป็นหลัก เช่น พอพูดถึงเรื่องข้าวขึ้นมา ก็มองในเชิงวิทยาศาสตร์ ทางชีวะ หรือมองในเชิงศิลปวัฒนธรรมก็ได้ มีประเพณีอะไรที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวกับข้าว การเรียนการสอนเริ่มมองเรื่องการบูณาการมากขึ้นกว่าก่อน แต่ถ้าถามว่าเยอะไหม ก็ยังไม่เยอะหรอก เพราะเท่าที่ดู ก็มีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่เข้าใจคำว่าบูรณาการอย่างแท้จริง ที่เหลือก็อาจจะสอนแบบเดิม ซึ่งประเด็นก็คงเกี่ยวว่าอาจารย์และครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนได้ก่อน ซึ่งนี่พูดไปถึงทั้งระดับโรงเรียนและระดับมหาวิทยาลัย อย่างมหาวิทยาลัยที่จะมีการออกนอกระบบ หรือปฏิรูปต่างๆ ผมว่าที่สุดแล้ว มันก็ต้องกลับมาที่ครูอาจารย์ ว่าเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการเรียนการสอนได้ไหม ถ้าเปลี่ยนได้ บูรณาการก็จะเกิด เพราะฉะนั้นต้องบูรณาการอาจารย์ก่อน แล้วจึงไปบูรณาการนักเรียนได้

ผู้สัมภาษณ์: วิทยาลัยนวัตกรรมควรมีบทบาทหน้าที่ในกระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างไร
ดร. ประพนธ์: คือผมว่า เนื่องจากวิทยาลัยเหมือนเป็นคณะนำร่อง ซึ่งคณะอื่นก็ใช่ว่าจะไม่มีไอเดียในเรื่องนวัตกรรม แต่เนื่องจากเขาเป็นคณะที่อยู่ในระบบ คณะเก่าแก่ การเปลี่ยนแปลงก็อาจทำได้ลำบาก แต่อย่างวิทยาลัย เนื่องจากภารกิจตั้งแต่แรกเริ่มตอนก่อตั้ง ก็บอกไว้แล้วว่าเราต้องสร้างนวัตกรรม ตรงนี้ผมว่าเราต้องตอกย้ำว่าเราอย่าทำอะไรเหมือนดั้งเดิม เมื่อไหร่ก็ตามที่เราย้อนกลับไปทำอะไรดั้งเดิม ผมว่าเราเดินถอยหลังแล้ว เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าเรายังต้องทำอะไรที่เป็นการนำร่องอยู่ ซึ่งการนำร่องต้องยอมรับนิดหนึ่งว่า มันไม่ง่าย คือเราไม่ได้เดินไปบนทางที่มีคนเดินไปแล้วเห็นเส้นทางให้เราเดินตามได้ง่าย แต่อันนี้ เหมือนเราเดินไป เราก็ต้องถางทางไป ถ้าเราเหลียวหลังเราก็จะเห็นเส้นทางที่เราเดินมา แต่พอมองไปข้างหน้า แน่นอนเรารู้ว่าเราจะเดินทางไปทางไหน เรามีวัตถุประสงค์ชัดเจน แต่ปัญหาของเราก็คือ มันไม่มีทางที่คนเดินมาก่อน เวลาเราถางไป ก็อาจเจอตอ เจออุปสรรค อาจจะมีท้อบ้าง แต่ที่สำคัญคือต้องรู้ว่าเป้าหมายอยู่ตรงไหนและมุ่งมั่นไปให้ถึง
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเดินไป แล้วเห็นว่ามีทางโล่ง มีคนเดินเยอะๆ แล้วเราก็เดินตาม อันนี้อันตราย ต้องเดินด้วยความระมัดระวัง เพราะมันอาจไม่ใช่นวัตกรรมที่แท้จริง เดี๋ยวในที่สุด เราจะลืมไป ว่าคณะนี้สร้างมาเพื่ออะไร เราต้องสร้างทางใหม่ ซึ่งแล้วในที่สุดคนอื่นนี่แหละ อาจจะมาเดินตามเราก็ได้ มาเป็นแนวร่วม ซึ่งเราก็ไม่ต้องภูมิอกภูมิใจว่าเราเป็นผู้นำ คิดว่าเราก็แค่ทำหน้าที่ของเราไปเท่านั้น
สำหรับหลายๆคณะที่มีกำลังทรัพยากรมากกว่าเรา ถ้าเกิดเขามาเดินตามเรา แล้วแซงเราไป อย่างที่บอกว่าเราไม่ได้หวังว่าจะเป็นผู้นำตลอด ถ้าเราแน่ใจว่าเขาถูกต้อง เราจะเดินตามเขาบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าไปยึดติด สร้างอัตตาว่าเราต้องเป็นผู้นำเสมอ ถ้าเราเป็นนวัตกรรม เราต้องทิ้งสิ่งเหล่านี้ให้ได้ อย่างที่พูดว่าถ้าเขาลุยทางให้เรา แล้วเราจะมามัวนั่งถางทางทำไม เดินตามไปเลยก็โอเค ถามว่าผิดไหม ผมว่าไม่ผิดนะ ดีซะอีกเราก็เหนื่อยน้อยลงตรงนี้ อย่าไปยึดติดกับอัตตา ว่าถ้าทางมีคนเดินแล้ว ฉันไม่เดิน อันนี้ผมว่าไม่ใช่ ขอเพียงแต่ให้แน่ใจว่าเรากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้นเป็นพอ
ผู้สัมภาษณ์: ฝากถึงวิทยาลัยนวัตกรรมหน่อยค่ะ
ดร. ประพนธ์: ผมอยู่ในตำแหน่ง ผอ. วิทยาลัยก็ 4 ปีเต็ม รู้สึกเสมือนเป็นบ้านหลังที่สองของผม ถ้าถามว่าผมภูมิใจอะไร ก็คงภูมิใจในตัวลูกทีม เจ้าหน้าที่ ทีมงานของเรา เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว รู้ว่าถ้าลูกทีมไม่ได้รวมกัน เราก็ไม่มีทางฝ่าฟันมาได้ถึงขนาดนี้ เพราะบอกแล้วว่าการเดินลุยนี่ คนเดียวไม่มีทางทำได้ ต้องช่วยกัน บางครั้งก็กระทบกระทั่งกัน บางครั้งเห็นไม่ตรงกัน ก็ไม่เป็นไร อันนี้เป็นสิ่งผมยึดมาตลอด ผมต้องการความหลากหลาย ไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องเดินตามผม บางครั้งก็ถกเถียงกัน นี่เป็นสิ่งที่ผมอยากทำให้เกิด ให้วัฒนธรรมนี้เป็นสิ่งที่อยู่กับวิทยาลัย ทุกคนก็รู้สึกดี เพราะได้แสดงความคิดเห็น แล้วเขาก็รู้สึกว่าเขามีความสำคัญ เมื่อเราไปถึงจุดนั้น ทุกคนก็ภูมิใจว่ามันไม่ได้มีใครเป็นผู้นำเพียงผู้เดียว แต่ทุกคนมีส่วนในการเป็นผู้นำ Concept ของการเป็นผู้นำร่วมกัน ผู้นำอาจจะเปลี่ยนเป็นผู้ตามบ้างก็ได้ ผลัดกันไป ซึ่งผมก็รู้สึกดีกับวิธีนี้มาก และผมว่าไม่ใช่ทุกคณะที่จะทำแบบนี้ได้ ก็อยากให้วิทยาลัยรักษาวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ไว้ ผมเชื่อว่านี่คือวิธีส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม
ตอนนี้เราก็ยังฟันฝ่าอยู่ ถามว่าถึงเป้าหมายหรือยัง ก็ยังไม่ถึง และตัวเป้าหมายเอง ก็อาจจะเลื่อนไปเรื่อยๆ ตามกระแสโลก แต่เราหมดกำลังใจไม่ได้ ขอให้จงภูมิใจ ว่าเราได้ฝ่ามาถึงตรงนี้แล้ว ขอให้มีกำลังใจว่าเรากำลังเข้าใกล้เป้าหมายมาเรื่อยๆ เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว ทุกคนก็จะมีความหวัง มีพลัง ที่จะทำงานอันมีคุณค่านี้ต่อไป

อ้างอิง



บทสัมภาษณ์ เรื่อง ...
บทสัมภาษณ์ เรื่อง “นวัตกรรมทางการศึกษา” บทสัมภาษณ์ ดร.
www.kmi.or.th/kmi-articles/dr-prapon/83-004-eduinnovation.html




-->--> -->-->
If you are a new user, please sign up here first.

Buddhist Scriptures Information Retrieval


User Login
Name :
Surname :

Welcome to BUDSIR on Internet
The BUDSIR on Internet is the latest product of BUDSIR project with an aim of facilitating all interested persons in retrieving information in BUDSIR database via Internet. The program consists of the following:
45 volumes of Tipitaka in Thai translation.
45 volumes of Tipitaka in Thai-Pali Tipitaka and Romanized Pali.
70 volumes of Atthakatha and commentaries in Thai-Pali and Romanized Pali.
Now Tipitaka and Atthakatha in Devanagari and Sinhalese are also available for retrieval.
This program is suitable for IE 5.0 or higher versions.Please send your comments to: budsir@mahidol.ac.th Last updated date April 2, 2004 (Since October 11, 2001)
Copyright © 2002 Mahidol University All rights reserved.



อ้างอิง
พระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์
นวัตกรรมทางการศึกษา ทฤษฎีการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่
www.suphet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355234&Ntype=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น