วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

เนื้อหาที่สนใจ+แทรกภาพ

ผู้ส่งนายสุนทร พูนเกษม รหัส 52410137 เลขที่ 38

ป.บัณฑิต บริหารการศึกษา

ม.วงษ์ชวลิตกุล


Theme for The 29th Bangkok International Motor Show
อัลบั้มรูป มอเตอร์โชว์ 2008



บรรยากาศ Motor Show 2008
Pretty Motor Show 2008
New Car Motor Show 2008
นวัตกรรมยานยนต์ คน และธรรมชาติ
ปัจจุบันโลกต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน อันเป็นผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ฉะนั้นมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการสร้างปัญหานี้ เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการด้านวัตถุ สิ่งอุปโภคและบริโภคหลายๆ ด้าน รวมถึงการใช้รถยนต์และเชื้อเพลิงที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ซึ่งก่อเกิดปัญหามลภาวะเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อลดภาวะโลกร้อน ปัญหามลพิษ และเพื่อการพัฒนาความสมดุลให้แก่โลกใบนี้ระหว่างยานยนต์ คน และธรรมชาติ เริ่มใส่ใจกับสภาพแวดล้อมซักนิด เพื่อการดำรงชีวิตสืบต่อไปในอนาคต
The Environmental Auto Globalization
Presently, mankind has faced with many environmental problems which we are always heard about it, Global Warming Crisis The major cause was built by human's need and consumption which included to vehicle and fuel energy. Hence, we should start protecting our earth and developing balance of living among human, vehicle and nature. Think! environment comes first for the better future.
ข่าวสาร มอเตอร์โชว์ 2008แถลงการกล่าวเปิดงาน มอเตอร์โชว์ 2008 ( 27/03/2008 )ดร.ปราจิน เชื่อ มอเตอร์โชว์ ปลุกเศรษฐกิจยานยนต์ ( 27/03/2008 )
สนับสนุนเนื้อหาโดยwww.grandprixgroup.com
sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}
sv=1.3;




โดย : editorระดับ : นายร้อย เป็นสมาชิกเมื่อ : 21 ก.พ. 2007 02.46 น. เข้าสู่ระบบครั้งล่าสุด : 20 ส.ค. 2009 09.25 น. วันที่อัพเดท : 18 ส.ค. 2008 15.24 น.คะแนนโหวต : 0 คะแนน ผู้เข้าชม : 140739 ครั้งบทเกริ่นนำ : บทความเรื่องหุ่นยนต์จาก อาจารย์ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)


หุ่นยนต์บำบัด
ความผิดปกติทางด้านออฺธิสติกส์ (Autistic Disorders) มีอัตราเกิดขึ้นในเด็กถึง 1 ใน 300 คน อาการที่ปรากฏชัดของเด็กออธิสติกส์คือ การที่เขาขาดความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาทิ หลีกเลี่ยงหรือมีการสบตาน้อย ขาดความเข้าใจในท่าทางและการแสดงออกทางหน้าตา การใช้คำพูดตะกุกตะกัก ประสบความยากลำบากในการรับรู้เจตนาและความรู้สึกของผู้ใกล้ชิด ท่านที่มีบุตรหลานที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติจึงน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนี้การตรวจอาการดังกล่าวใช้เพียงการสังเกตเชิงพฤติกรรมเท่านั้น ยังไม่มีการตรวจเลือดหรือตรวจสอบทางยีนส์แม้ว่าจะมีหลักฐานทางแพทย์ว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจจากเด็กๆทั่วไปรวมทั้งกลุ่มเด็กออธิสติกส์ หลายหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศจึงริเริ่มทดลองนำหุ่นยนต์มาเป็นตัวสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หลายคนเชื่อว่าหุ่นยนต์ของเล่นให้ความเป็นกันเองและความ “อุ่นใจ” ต่อเด็กๆมากกว่าผู้ใหญ่รอบข้างเสียอีก ผมเคยสังเกตเด็กป่วยที่ต้องไปหาคุณหมอบ่อยๆในวัยเด็กจะเกิดความระแวงเมื่อเห็นผู้ใหญ่เล่นด้วยและยิ้มให้ คงเป็นเพราะคุณหมอเหล่านั้นต้องหลอกล่อเล่นกับเด็กจนเพลินเสียก่อนแล้วจึงทิ่มเข็มฉีดยา เด็กบางคนถึงกลับวิ่งอ้อมไปดูด้านหลังผู้ใหญ่ที่ยืนยิ้มเอามือไพล่หลังอยู่เพราะกลัวว่าในมือมีเข็มฉีดยาอยู่ มีการศึกษา ของ Rogers & Pennington, 1991 และ Baron-Cohen, 1995 กล่าวถึงสาเหตุของออธิสติกส์ว่าอาจเกิดจากขบวนการเลียนแบบและการแสดงอารมณ์ร่วมในวัยต้นของเด็กเล็กนั้นไม่สมบูรณ์แบบ
การเลียนแบบถือเป็นลักษณะการสื่อสารประเภทหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสนใจและการเข้าหาผู้อื่นจนไปกึงการมีปฎิสัมพันธ์ (Nadel, 1999)
หุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้ถูกสร้างให้ฉลาดพอที่จะเข้าใจพฤติกรรมของเด็กและสามารถตอบสนองและกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงออก ที่จริงหุ่นยนต์ของเล่นปัจจุบันเปิดโอกาสให้เด็กผู้เล่นสวมบทบาท “กำกับ” คือสามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ตามจินตนาการของตน ดังนั้นเราจึงได้เห็นเด็กออธิสติกส์ที่เงียบขรึมอยู่กับโลกส่วนตัวคนเดียวเริ่มเล่นกับหุ่นยนต์เช่นเดียวกันกับเด็กปกติเล่น อย่างไรก็ตามบทผู้กำกับที่ผมกล่าวถึงอาจจะสูงไปในขั้นต้น นักวิจัยใช้เพียงการกำหนดให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางอย่างง่ายๆ ก็ได้รับผลที่น่าพอใจยิ่งเพราะเด็กออธิสติกส์แสดงท่าทางเลียนแบบ เราหวังว่าเมื่อเขาตอบสนองกับหุ่นยนต์ได้ดีเหมือนกับเด็กทั่วไป สภาวะแวดล้อม “อุ่นใจ” ร่วมกับหุ่นยนต์นี้คือกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่อาจไขปริศนาบางอย่างอันอาจทำให้อาการผิดปกตินั้นทุเลาลงจนเขาสามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นได้ดีขึ้น
แนวความคิดคือให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางซ้ำๆกระตุ้นความสนใจ “การเลียนแบบ” ของเด็ก หุ่นยนต์ที่ใช้ชื่อ Robota หนูน้อยออธิสติกส์วัย 6 ขวบ เกิดความฉงนสนเทห์กับการเคลื่อนไหวส่วนหัวของ Robota หลังจากนั้นเขาก็เริ่มสัมผัสหุ่นยนต์ไปมา ( K. Dautenhahn 2002) ในขั้นนี้ Robota ไม่มีความฉลาดในการสื่อสารกับเด็กมากนัก มีแต่เพียงการควบคุมระยะไกล (Teleoperation) โดยนักวิจัยและคุณหมอ ท่าทางของ Robota ถูกกำหนดให้สอดคล้องการเรียนรู้ของเด็กน้อย
ลูกเล่นบางอย่างเช่นหุ่นยนต์จะไม่เคลื่อนไหวต่อไป หากเด็กหยุดนิ่ง เด็กจึงเรียนรู้ว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรตามที่คุณหมอที่ซ่อนตัวอยู่หลังฉากต้องการ ในลักษณะอาจกล่าวได้ว่าเด็กและหุ่นยนต์จักต้องทำงานร่วมกัน งานวิจัยนั้นมีรายละเอียดด้านความไว(Sensitivity )ในการตอนสนองของแต่ขั้นตอนด้วย และนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในหมู่กลุ่มเด็กออธิสติกส์
ระบบตรวจจับภาพในตาหุ่นยนต์ยังช่วยบันทึกภาพให้เราทราบตำแหน่งและระยะห่างของเด็กๆแต่ละคน พัฒนาการของเด็กด้านการอยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระยะห่างที่กล่าวถึงนี้
จนถึงวันนี้การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบำบัดยังอยู่ในขั้นต้นของการวิจัย ผลลลัพท์ออกมาค่อนข้างดี ผมได้รับทราบมาว่า ทางเนคเนคได้สร้างความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ในการนำหุ่นยนต์แมวน้ำ Paro มาศึกษาทดลองเพื่อรักษาอาการออธิสติกส์ของเด็กไทย เราอาจะต้องมีการดัดแปลงการเคลื่อนไหวและวิธีตอบสนองของ Paro ให้เป็นแบบไทยๆ
เด็กออธิสติกส์นั้นก็มีความอัจฉริยะภาพ หากเทคโนโลยีหุ่นยนต์สามารถเปิดประตู กระตุ้นให้น้องๆเหล่านี้แสดงศักยภาพออกมาได้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากเลยครับข้อคิดเห็น/เสนอแนะ มาที่ผู้เขียนได้ที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
รู้จักผู้เขียนรศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา
ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น